การสอบคัดเลือก

การสอบคัดเลือก
การสมัครสอบ
ทุกเหล่าจะเปิดรับสมัครสอบทางอินเทอร์เน็ต ประมาณเดือนธันวาคม – มกราคม

การสอบคัดเลือกประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ ถึงต้นเดือนมีนาคม ของทุกปี

การสอบคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารจะกระทำเป็นสองรอบ คือ
1. การสอบรอบแรก เป็นการสอบภาควิชาการ
2. การสอบรอบที่สอง เป็นการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ตรวจความสมบูรณ์ ของร่างกายและจิตใจ .

โดยการสอบรอบแรก หรือการสอบภาควิชาการ จะทำการสอบวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และสังคมศึกษา โดยมีขอบเขตเนื้อหารายวิชาครอบคลุมความรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4) ของกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้

1. การสอบรอบแรก หรือการสอบภาควิชาการจะทำการสอบวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และสังคมศึกษา โดยมีขอบเขตเนื้อหารายวิชาครอบคลุมความรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4) ของกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้

1.1  วิชาภาษาอังกฤษ มีขอบข่ายของเนื้อหาที่ใช้ในการออกปัญหาสอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 คือ Grammar, Vocabulary, Expression, Conversation และ Reading Comprehension

* เหล่าทหารบก กำหนดเกณฑ์ผ่าน ต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ทหารเรือ และทหารอากาศ กำหนดเกณฑ์ผ่าน ต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 40

1.2 วิชาคณิตศาสตร์ มีขอบข่ายของเนื้อหาที่ใช้ในการออกปัญหาสอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 คือ พื้นที่ผิวและปริมาตร, กราฟ, ระบบสมการเชิงเส้น, ความคล้าย, กรณฑ์ที่สอง, การแยกตัวประกอบของพหุนาม, สมการกาลังสอง, พาราโบลา, อสมการ, ความน่าจะเป็น, สถิติ, ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์, การให้เหตุผลเกี่ยวกับรูปสามเหลี่ยมและรูปสี่เหลี่ยม, ระบบสมการ, วงกลม, และเศษส่วนของพหุนาม และระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 คือ เซต, การให้เหตุผล, จานวนจริง, ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน, ตรรกศาสตร์เบื้องต้น, ระบบจานวนจริง, ทฤษฎีจานวนเบื้องต้น, เลขยกกาลัง, อัตราส่วนตรีโกณมิติ, ความน่าจะเป็น, ระบบสมการเชิงเส้นและเมทริกซ์, ฟังก์ชัน, เรขาคณิตวิเคราะห์และภาคตัดกรวย

* เหล่าทหารเรือ และทหารอากาศ กำหนดเกณฑ์ผ่าน ต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 40

1.3 3. วิชาวิทยาศาสตร์ มีขอบข่ายของเนื้อหาที่ใช้ในการออกปัญหาสอบกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 คือ โครงสร้างของโลก, โลกและการเปลี่ยนแปลง, ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยา, ธรณีประวัติ, เอกภพ, ดาวฤกษ์ระบบสุริยะ, เทคโนโลยีอวกาศ, การเคลื่อนที่, สนามของแรง, คลื่น, กัมมันตภาพรังสีและพลังงานนิวเคลียร์, การเคลื่อนที่แนวตรง, แรงและกฎการเคลื่อนที่, การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ, งานและพลังงาน, โมเมนตั้มและการชน, การเคลื่อนที่แบบหมุน, สภาพสมดุลและสภาพยืดหยุ่น, อะตอมและตารางธาตุ, พันธะเคมี, สมบัติของธาตุและสารประกอบ, ปริมาณสัมพันธ์ และของแข็ง ของเหลว แก๊ส

1.4 วิชาภาษาไทย มีขอบข่ายของเนื้อหาที่ใช้ในการออกปัญหาสอบฯ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 คือ สาระที่ 1 การอ่าน / สาระที่ 2 การเขียน / สาระที่ 3 การฟัง การดู และการพูด / สาระที่ 4 หลักการใช้ภาษาไทย / สาระที่ 5 วรรณคดีและวรรณกรรม

1.5 วิชาสังคมศึกษา มีขอบข่ายของเนื้อหาที่ใช้ในการออกปัญหาสอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น คือ ศาสนา ศีลธรรม และจริยธรรม, หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม, เศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์ และภูมิศาสตร์ และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย คือ หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม, เศรษฐศาสตร์ และประวัติศาสตร์ รวมทั้งความรู้รอบตัว ข่าว และเหตุการณ์ปัจจุบัน

ทั้งนี้ ข้อสอบมีคะแนนรวม 700 คะแนน โดยจะคัดเลือกผู้ที่มีคะแนนดีที่สุดตามลำดับคะแนน ตามจำนวนที่โรงเรียนกำหนด เข้าทำการสอบรอบสองต่อไป   ในส่วนของการเตรียมตัวสอบภาควิชาการ ผู้สมัครไม่ต้องเตรียมเครื่องเขียนใด ๆ ทั้งสิ้น ทางราชการจะจ่าย ดินสอ ยางลบ และกระดาษใบตอบ ให้ไม่อนุญาตให้นำกระดาษทด หรือกระดาษร่าง หรืออุกรณ์อื่น ๆ เข้าไปในห้องสอบ

2. การสอบรอบที่สอง เป็นการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ตรวจความสมบูรณ์ ของร่างกายและจิตใจ ตามรายละเอียดดังนี้

2.1 การตรวจสุขภาพ เป็นการทดสอบสุขภาพจิต การตรวจขนาดรูปร่าง ลักษณะ ความสมบูรณ์ของร่างกาย ตลอดจนการตรวจโรค และ ความพิการที่ขัดต่อการเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร

2.2 การสอบสัมภาษณ์ท่วงทีวาจาเป็นการตรวจสอบรูปร่าง ลักษณะท่าทาง ความสมบูรณ์ของร่างกาย ความองอาจ คุณลักษณะความเหมาะสมที่จะเป็นนายทหารสัญญาบัตร มีผลการสอบ “ผ่าน” หรือ “ไม่ผ่าน” เท่านั้น ผู้สอบไม่ผ่าน หมายถึง ผู้ที่มีลักษณะทางร่างกายไม่เหมาะสมที่จะเป็นนายทหาร-นายตำรวจ

2.3 การสอบพลศึกษาเป็นการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ซึ่งผู้เข้าสอบจะต้องทำการสอบให้ครบทุกประเภท ถ้าขาดสอบประเภทใดประเภทหนึ่งถือว่าสอบไม่ผ่าน โดยไม่คำนึงถึงคะแนนการสอบข้อเขียน

การสอบพลศึกษา ประกอบด้วยการทดสอบ จำนวน 8 ประเภท ผู้เข้ารับการทดสอบจะต้องทำการทดสอบให้ครบทุกประเภท ตามที่กำหนด โดยมีประเภทและวิธีการทดสอบ ดังนี้

* เหล่าตำรวจ กำหนดว่า ผู้ที่สอบวิ่งระยะไกลทำเวลาเกินกว่า 5 นาที 22 วินาที หรือวิ่งไม่ถึง ถือว่าสอบพลศึกษาตก