เรื่องสายตากับการสมัครสอบ

<<เรื่องสายตากับการสอบเข้าเป็นนักเรียนทหารตำรวจ>>
1. นักเรียนที่เข้าสอบควรมีสายตาสั้นไม่เกิน 100 จึงจะขออนุโลมผ่อนผันได้ (ไม่มีการผ่อนผันแม้ จะสอบได้ลำดับ 1 ใน 10) ของกองทัพก็ตาม แต่ถ้าเป็นเหล่า ทอ.ถ้าสายตาสั้นโอกาสที่จะได้เป็นนักบินแทบไม่มี ต้องเลือกเหล่าอื่นที่พอจะมีค่าสายตาได้บ้าง บ้างคนเข้าไปได้แล้วใส่แว่นก็มีหลายคน
2. นักเรียนที่ทำ Lasik มามีการตรวจการทำ Lasik ได้แล้ว (ไม่แนะนำให้ทำ โดยเฉพาะกองทัพอากาศ, กองทัพบก) แต่ในบางปีมีการอนุญาตให้ทำ Lasik ได้ ต้องอ่านระเบียบการในแต่ละปีให้ละเอียด หาข้อมูลล่วงหน้าจะได้แก้ไขได้ทัน
การทำ PRK ไม่อนุญาตแต่การตรวจยังไม่พบ แต่ต้องเตรียมตัวล่วงหน้า (การผ่าตัด ภายใน 7 วันแรกไม่ให้ถูกน้ำ, และใช้เวลาพักอีก 14 วัน) ต้องวางโปรแกรมให้ถูกไม่ให้คาบเกี่ยวช่วงเข้าค่ายติว ต้องปรึกษาหมอตา เป็นการล่วงหน้าก่อนดำเนินการ
3. นักเรียนที่ใช้เลนส์กดตาควรทำก่อนล่วงหน้า 6 เดือนขึ้นไป  ใช้เวลาใส่เพื่อปรับสายตาวันละ 2 ชม. ค่อยๆลดสายตาลง (เป็นวิธีที่เหมาะ เพราะวิธีอื่นผลต่อสุขภาพตาของเด็ก ในอนาคต)

เลนส์ที่เรียกว่าเลนส์กดตาจริงๆแล้ว เรียกว่า (Ortho K Lens) ทำงานโดยใช้เลนส์ RGP หรือ Rigid Gas Permeable Lens ที่ออกแบบ มาเป็นพิเศษ ให้ตรงกลางแบนกว่าบริเวณขอบเลนส์ (เลนส์ปกติ และกระจกตา ตรงกลางจะนูนที่สุด และค่อยๆ โค้งน้อยลงโดยรอบ เป็นทรงระฆัง) ระหว่างที่สวมใส่ เลนส์จะวางตัวกลางกระจกตา เมื่อหลับตาหรือกระพริบตา หนังตาจะกดบนเลนส์ เกิดแรงไปจัดเรียง เซลล์เยื่อบุผิวกระจกตา (epithelium cell) ไปตามรูปร่างของเลนส์
เมื่อถอดเลนส์ออก กระจกตาที่ถูกปรับไว้จะแบนลง สายตาจะหายสั้น และยังคงชัดเจน ไปจนกว่า เซลล์จะเคลื่อนกลับไปตำแหน่งเดิม หรือมีการสร้างเซลล์ใหม่ สายตาก็จะกลับสั้นลงเหมือนเดิม ซึงอาจใช้เวลาหลายชั่วโมงในวันแรกๆที่ใช้เลนส์ จนถึงหลายวันเมื่อใช้ติดต่อกันหลายๆเดือน

การรักษา PRK (Photorefractive Keratotomy)  เริ่มแรกใช้ Excimer laser แก้สายตา สั้น, ยาว หรือ เอียง โดยการใช้แสงเลเซอร์ไปทำให้ผิวของกระจกตาบางลง ซึ่งมีผล ทำให้ความโค้งของกระจกตาเปลี่ยนไป กล่าวคือ ผู้ที่สายตาสั้นนั้นกระจกตาโค้งมาก กว่าปกติด เราใช้ Laser ยิงไปบนพื้นที่กลางกระจกตาบนเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 – 6 มม. เพื่อสลายหรือขูดผิดของกระจกตาออกทีละน้อยทำให้ความหนาของกระ จกตาบางลง เป็นผลให้กระจกตามีความโค้งลดลง ในทางตรงข้ามผู้ซึ่งมีสายตายาว กระจกตามีความโค้งน้อยไป ในการแก้ไขเราจะยิงเลเซอร์เป็นจุดๆ บริเวณของของกระจกตาตามแนวเส้นรอบวง ทำให้ความโค้งของกระจกตาบริเวณตรงกลางเพิ่มขึ้น

ในการทำ PRK เพียงหยอดยาชา และใช้ใบมีดขูดผิวของ กระจกตาออกก่อนแล้ว ฉายแสงเลเซอร์ไปยังบริเวณที่ขูดผิวออกเท่านั้น ซึ่งเป็นการทำที่ไม่ซับซ้อนไม่เสี่ยง ต่อภาวะแทรกซ้อนและใช้เครื่องมือน้อย แต่ข้อเสียของวิธีนี้ก็มีหลายอย่าง แรกที่สุด เนื่องจากต้องขูดผิวของกระจกตาออกดังนั้นคนไข้จะมีอาการปวดตาอยู่ ประมาณ 1-3 วัน กว่าผิวของกระจกตาจะงอกมาปิดแผลหมด ในระยะ 24 ชั่วโมงแรกจะต้อง ปิดตาแน่นหรือใส่เลนส์สัมผัสชนิดนิ่ม ซึ่งปัจุบันนิยมใส่เลนส์สัมผัสชนิดนิ่มปิดแผลไว้
ถ้าสายตาสั้นมากๆ ฝ้านี้ก็จะอยู่นานและบางที่ก็หายไปไม่หมด เนื่องจากฝ้าที่เกิดขึ้นจะเกิดมากในรายที่ ต้องแก้ไขสายตาสั้นมากๆ ดังนั้นจึงเป็นข้อจำกัดทำให้ไม่สามารถใช้ PRK แก้สายตาสั้นมากๆได้โดยทั่วไปไม่ นิยมใช้ PRK แก้ไขสายตาสั้นเกิน -8.00 dioters นอกจากนี้เรายังพบว่าผู้ป่วยทีทำ PRK ไปแล้วประมาณ 5-6เดือน จะมีการกลับมาสั้นก่อนทำเช่นเดียวกัน ท้ายทีสุดคือ หลังจากทำ PRK แพทย์จำเป็นต้องใช้ยาหยอด ตาประเภท steroid เพื่อรักษาแผลซึ่งผู้ป่วยบางคนอาจไวต่อยาหยอดตาประเภทนี้ ซึ่งพบได้จำนวนประมาณ 35 % ของคนปกติ ทำให้ความดันลูกตาสูงขึ้นกว่าปกติและเป็นต้อหินชั่วคราวได้ แต่เมื่อหยุดยาแล้วอาการต้อหิน ก็จะหายไป ถ้าบางท่านรู้เท่าไม่ถึงการณืใช้ยาหยดตาชนิดนี้นานเกินไป อาจเกิดการสูญเสียสายตาจากต้อหินได้

ข้อเสียของการทำ PRK
– มีอาการปวดแผลใน 24 – 48 ชั่วโมงแรกหลังทำ
– ระดับสายตาจะไม่คงที่ระยะ 1 – 3 เดือนแรก มักจะเกิดฝ้าบนกระจกตาอยู่เป็นระยะหนึ่ง
– ถ้าแก้สายตาสั้นมากๆอาจเกิดฝ้าถาวร
– ไม่สามารถใช้แก้สายตาที่สั้นมากๆ หรือเอียงมากๆได้
– สายตาอาจกลับมาสั้นได้อีกเล็กน้อย หลังจากทำไปแล้ว
– การใช้ steroid ในการรักษาแผล PRK อาจทำให้เกิดผลเสียจากการใช้ steroid นานเกินไป ที่สำคัญ เป็นต้อหินชั่วคราวได้

การรักษา เลสิก LASIK  เป็นการผ่าตัดแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติโดยการใช้เลเซอร์ชนิดหนึ่งเรียกว่า “เอ็กไซเมอร์เลเซอร์” (Excimer Laser) ซึ่งเป็นเลเซอร์ความยาวคลื่นสั้นในระดับ อัลตราไวโอเลต (193 nm.) เป็นแสงเลเซอรแบบเย็น ซึ่งจะทำปฏิกิริยา กับพื้นที่ผิว สัมผัสเท่านั้น ไม่กระจายไปด้านข้างหรือผ่านทะลุเข้าไปภายในลูกตา แต่อย่างใด
โดยจะใช้ร่วมกับเครื่องมือแยกชั้นกระจกตาที่เรียกว่า “ไมโครเคอราโตม” (Microker- atome) ซึ่งจะใช้แยกชั้นของกระจกตา ออกประมาณ 1 ใน 3 ของความหนา ของ ความหนา ของกระจกตา ทั้งหมด แล้วยิงเลเซอร์ ไปที่เนื้อ กระจกตาทั้งหมดแล้วยิงเลเซอร์ที่เนื้อกระจกตาชั้น กลางเพื่อปรับเปลี่ยนความโค้ง แล้วจึงปิดประจกตากลับลงไป โดยไม่ต้องเย็บกระจกต าสามารถสมาน ติดกันเองตามธรรมชาติ ทั้งหมดนี้ รวมเป็นการผ่าตัดที่เรียกว่า “เลเซอร์ อิน-สิตู เคอราโตมิลูซิล” (Laser In- situ Kerato-mileusis) หรือ เลสิก (Lasik) ซึ่งเป็นวิธีการรักษา สายตาผิดปกติ ที่แน่นอนและแม่นยำที่สุด  ผู้ที่เหมาะกำการทำเลสิก
* ผู้ที่มีปัญหาการใส่แว่น ทำงานกลางแจ้ง และรู้สึก หรือคอนแทคเลนส์
* ผู้ ที่ชอบออกกำลังกาย หรือ ผู้ที่มีปัญหาการใส่แว่น ทำงานกลางแจ้ง และรู้สึก หรือคอนแทคเลนส์ ไม่สะดวกเมื่อต้องใช้แว่น หรือคอนแทคเลนส์

>>กล่าวโดยสรุป การทำ Lasik และ PRK ต่างกันตรงขึ้นตอนการแยกชั้นกระจกตา<<
**LASIK ต้องมีการใช้เครื่องมือแยกชั้นกระจกตา หลังจากนั้นจึงทำการยิงเลเซอร์เพื่อแก้ไขสายตา
ข้อดีคือ ระยะพักฟื้นรวดเร็ว วันรุ่งขึ้นมองเห็นค่อนข้างชัด ไม่เจ็บหลังทำมากเท่า prk และใช้ยาเพียง 1 สัปดาห์

*PRK จะเอาผิวกระจกตาชั้นบนสุดออก หลังจากนั้นจึงทำการยิงเลเซอร์
ข้อดี: ไม่มีความเสี่ยงของขั้นตอนการแยกชั้นกระจกตา ไม่มีขอบแผลที่เกิดจากการแยกชั้นกระจกตา ต้องตรวจอย่างละเอียดจึงทราบว่าเคยทำ prk มา
ข้อเสีย: การกลับมามองเห็นช้ากว่า ระคายเคืองตามากกว่า ถ้าค่าสายตามากอาจเกิดรอยแผลเป็นได้ และต้องใช้ยาหยอดตานานกว่า เพื่อลดการอักเสบ

เทคนิคง่าย ๆ ในการดูแลดวงตา สำหรับน้องๆที่สายตาไม่สั้นเกินไปและต้องการดูแลสายตาให้ดัอยู่เสมอ
1. พบจักษุแพทย์เพื่อทำการตรวจตาอย่างละเอียด ทำให้แน่ใจได้ว่าไม่มี ปัญหาจริง ๆ เนื่องจากโรคตาบางชนิด เช่นต้อหิน วุ้นในตาเสื่อม อาจจะเกิดขึ้น โดยที่ไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า แต่สามารถตรวจพบได้โดยการตรวจตาโดยจักษุแพทย์
2.เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อดวงตา เช่นแครอท ผลไม้ และผักใบเขียว  นอกจากนี้การรับประทานอาหารที่มี Omega-3 สูง เช่นปลาแซลมอน ปลาทูน่า ก็จะสามารถช่วยบำรุงสายตาได้เช่นกัน
3.การ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ในคนที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไปจะมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคเบาหวาน และโรคอื่น ๆ ซึ่งอาจจะนำไปสู่ความผิดปกติของดวงตาได้ เช่นโรคตาจากเบาหวาน หรือความดันโลหิตสูง
4.การ สวมแว่นเพื่อป้องกันดวงตา โดยเฉพาะเวลาที่เล่นกีฬาหรือมีกิจกรรมที่อาจจะเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ หรืออุบัติเหตุต่อดวงตา
5.งด สูบบุหรี่ บุหรี่ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรควุ้นในตาเสื่อม ต้อกระจก และการทำลายเส้นประสาทตาอีกด้วย ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดตาบอดได้
6.ใช้แว่นกันแดด เพื่อเป็นการป้องกันรังสี UV เวลาเลือกซื้อพยามเลือกที่สามารถป้องกันได้ทั้ง UV-A และ UV-B ได้ 99-100%
7.การพักสายตา ถ้าคุณใช้เวลาอยู่กับคอมพิวเตอร์ หรือใช้สายตาเพ่งมากเกินไป บางครั้ง การกระพริบตาจะน้อยลงโดยที่คุณไม่รู้ตัว และทำให้กล้ามเนื้อตาล้า และตาแห้งได้
8.ล้างมือให้สะอาดเป็นประจำ หากต้องใช้คอนแทคส์ ควรเรียนรู้และฝึกฝนที่จะใช้ให้ถูกต้อง เพื่อป้องกันการติดเชื้อ

การวัดค่าสายตาด้วย Snellen Chart สเนลเลนชาร์ท
สำหรับการวัดค่าสายตาโดยปกติแล้วโรงเรียนเหล่าต่างๆจะให้ Snellen Chart เข้ามาช่วยในการวัดค่าสายตา (โรงเรียนนายเรืออากาศระบุไว้ชัดเจนจะต้องอ่านค่าได้ 20/40) ซึ่ง Snellen Chart มีด้วยกันสองแบบคือ แบบตัวเลขและแบบ E chart (ดูภาพประกอบ)

ตีความค่า 20/40 หมายถึง ผู้คำการวัดอ่านค่าได้ในระยะ 20 ฟุต แต่คนปกติอ่านได้ในระยะ 40 ฟุต

ซึ่งก็มีวิธีในการวัดดังต่อไปนี้

1. ให้ผู้ทำการวัดนั่งบนเก้าอี้ที่วางไว้ข้างหน้าแผ่นป้ายตามระยะทางที่กำหนด คือ 20 ฟุต หรือ 6 เมตร โดยให้นั่งตัวตรง ห้านโน้มตัวไปข้างหน้าขณะอ่านเพราะระยะทางจะคลาดเคลื่อน และห้ามเอียงคอขณะอ่านเพราะนั่นคือผู้ทำการวัดแอบใช้ตาข้างที่ปกติมาช่วยอ่านทำ ให้ไม่ได้ค่าสายตาที่แท้จริง
2. วัดสายตาทีละข้าง โดยให้วัดตาขวาก่อนเสมอ ทั้งนี้เพื่อความถูกต้องในการบันทึกผลและป้องกันความสับสน  โดยใช้ที่ปิดตาชนิดทึบแสงปิดตาอีกข้างหนึ่งไว้ให้มิดชิด
3. ให้อ่านตัวเลขบนแผ่นป้ายตั้งแต่แถวที่ 1 โดยอ่านลงไปเรื่อยๆ ถ้าสายตาปกติจะอ่านได้ถึงแถวที่ 7 ให้ลงบันทึก เป็นอันเสร็จสิ้นการวัดสายตาเบื้องต้น
4. ถ้าผู้ที่มี สายตาผิดปกติ มักจะอ่านตัวเลขในแต่ละแถวได้ไม่ถูกต้องทุกตัวโดยถ้าอ่านได้ถูกต้องมากกว่า ครึ่งหนึ่ง ของแต่ละแถวให้อ่านไปเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงแถวใดแถวหนึ่งที่อ่านผิดมากกว่าครึ่งหนึ่ง หรืออ่านไม่ได้เลย
5. ถ้าอ่าน มาถึงแถวที่ 5 ( ตัวเลขเศษส่วนจะเท่ากับ 20/40 ) ซึ่งมีจำนวนตัวเลขในแถวนี้ 6 ตัว คนไข้อ่านผิด 2 ตัว และ เมื่อให้อ่านต่อไปในแถวที่ 6 ก็อ่านผิดมากกว่าครึ่งหนึ่ง หรืออ่านไม่ได้ ให้บันทึกว่า 20/40-2 แต่ถ้าอ่านตัวเลขในแถวที่ 5 ได้ถูกหมดทุกตัว และสามารถอ่านแถวที่ 6 ได้เพิ่มอีก 2 ตัว ให้บันทึกว่า 20/40

ในบางครั้งผู้เข้าสอบก็ใช้วิธีการท่องจำตัวอักษร หรือตัวเลขทั้งหมด เพื่อใช้ในการวัดค่าสายตา ซึ่งก็มีมาแล้ว แต่ขอบอกไว้ก่อนว่า snellen chart มีหลายแบบมากแต่ละในตัวเลขและตัวอักษรไม่เหมือนกัน